ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับ BBS

 

มีโอกาสได้คุยกับอาจารย์ท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน BBS  อาจารย์เล่าให้ฟังว่า ในประเทศไทยของเรามีวิทยากรหลายคนที่สอน BBS แต่วิทยากรเหล่านั้น มีความคิดเห็นแตกต่างออกไปจากหลักการที่ถูกต้อง

 

โดยเขามองว่า มันก็คือเรื่องของการสร้างจิตสำนึกความปลอดภัยแบบเดิมๆ เน้นการบังคับ และลงโทษ ไม่เชื่อว่าการแก้ไขเชิงบวกสามารถสร้างพฤติกรรมความปลอดภัยได้ และมากไปกว่านั้น คือ ดูถูกว่า คนไทยไม่มีวินัย แก้ไขไม่ได้

หลายคนที่ทำงานด้านความปลอดภัยฯ ฟังแล้วก็อาจรู้สึกหงุดหงิด รู้สึกจี๊ดๆขึ้นมาว่า คนที่เป็นวิทยากร ทำไมจึงมีความคิดแบบนี้?

 

หากมองว่าคนไทยไม่มีวินัย ในสมัยก่อนอาจจะจริง เราแซงคิว แต่ตอนนี้เราเริ่มเห็นแล้วว่า มีการเข้าคิวเข้าแถวกันมากขึ้น รวมถึงสวมหน้ากาก และ ล้างมือด้วย

 

พฤติกรรมเปลี่ยน เพราะมีการศึกษาที่ดีมากขึ้น ได้รับข่าวสารที่ถูกต้อง ทำให้เราพัฒนามากขึ้นนั่นเอง 

 

BBS ไม่ใช่เป็นเรื่องของการสร้างจิตสำนึกความปลอดภัยแบบเดิมๆ ที่เน้นการบังคับ หรือ การเอากฎระเบียบมากาง สั่งให้ทำตาม ใครฝ่าฝืนต้องลงโทษหนักๆ

เพราะนั่นคือ “การสร้างความกลัว ไม่ใช่สร้างความเข้าใจ”

 

สิ่งใดก็ตาม ที่ปราศจากความเข้าใจอย่างแท้จริง ทำยังไงก็ไม่ยั่งยืน

 

ความกลัว จะเป็นการไปกระตุ้นให้สมองส่วนอมิกดาลา ที่ทำหน้าที่ตอบสนองต่อความกลัว

 

ตามหลักการของประสาทวิทยา การที่อมิกดาราถูกกระตุ้นมากๆ เป็นสิ่งที่ไม่ดี เพราะ จะทำให้เกิดความกลัว เกิดการปรุงแต่งเกินความเป็นจริง ซึ่งมีผลต่อสุขภาพกาย และจิตได้ และที่สำคัญ มันคือการปิดกั้นกรอบความคิดใหม่ๆที่พัฒนาได้ 

 

การกลัวลงโทษ จะทำให้พนักงานไม่รายงานการกระทำที่ไม่ปลอดภัย หรือ อุบัติเหตุ นั่นคือปัญหาที่ใหญ่มาก

 

แต่ถ้าเรานำหลักการที่ถูกต้องของ BBS มาใช้ โดยพูดคุยกันด้วยเหตุผล แสดงความห่วงใย มีเมตตา ชื่นชมกัน ไว้ใจกัน  ความกลัวจะน้อยลง เกิดเป็นความเข้าใจ พนักงานจะไว้วางใจเรา กล้าที่จะรายงาน การกระทำที่ไม่ปลอดภัยให้ทราบ ก่อนที่จะเกิดอุบัติเหตุ

 

พอจะเห็นหรือยังครับว่า การทำ BBS ที่ถูกต้อง ไม่ใช่เป็นการบังคับจนเกินไป หรือเป็นการจับผู้ใดผู้หนึ่งมาลงโทษ

 

จนทำให้เขาเกิดความกลัว และไม่กล้าที่จะ นำเสนอแนะใดๆเกี่ยวกับความปลอดภัย 

 

นั่นจะทำให้มีอันตรายแฝงมากมาย และนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุที่ร้ายแรงได้


ชื่อผู้ตอบ:


  • ถ้าทั้งเคยบอก เคยสอน เคยสั่ง หรือ แม้กระทั่งบังคับให้ทำตามกฎความปลอดภัยก็แล้ว แต่พนักงานก็ยังฝ่าฝืนกฎความปลอดภัยในการทำงาน นั่นหมายความว่า วิธีการที่เรานำมาใช้ทั้งหมด ไม่สามารถตอบโ...

  • การประชุม คปอ.ถือว่าเป็นโอกาสดีงามที่ทุกคน จะมาร่วมกันอัพเดตความปลอดภัย รวมถึงติดตามผลงานต่างๆด้านความปลอดภัยฯ แต่เชื่อหรือไม่ว่า สิ่งที่ก่อให้เกิดความน่าเบื่อในการประชุม ก็หนีไม่พ...

  • ตามหลักการของ BBS หัวใจสำคัญ คือ "การกำจัดพฤติกรรมเสี่ยงโดยปรับเปลี่ยน ให้เป็นพฤติกรรมความปลอดภัย" ด้วยวิธีการแก้ไขเชิงบวก โดยการเข้าไปโค้ชให้ฉุกคิด เพื่อให้เขาตระหนักรู้ถึงค...

  • Behavior-based safety (BBS) หรือ การสร้างความปลอดภัยโดยใช้พฤติกรรมเป็นฐาน เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่า สามารถลดการเกิดอุบัติเหตุ และการได้รับบาดเจ็บไ...

  • สำหรับคนที่เป็น จป.วิชาชีพ ที่กำลังจะเริ่มทำเรื่อง BBS หรือ Behavior-Based Safety ผมเชื่อว่าหลายๆคนคงจะเคยพูด หรือเคยได้ยิน ประโยคนี้มาแล้วแน่ๆว่า “นายจ้างไม่ให้การสนับสนุน ไม่ส่งเ...

  • หลายคนอ่านชื่อเรื่องแล้ว อาจรู้สึกแปลกๆ เพราะปกติเวลาทำงานมันต้องใช้หัว แต่เรื่องความปลอดภัยเนี่ยทำไมจึงต้องใช้ตีน จริงๆแล้วมันไม่ใช่เรื่องแปลกหรอกครับ การใช้ตีนทำงานไ...

  • เคยสงสัยมั้ยครับว่า การที่เราจะตัดสินใจซื้ออะไรสักอย่าง เรามักจะไม่ได้ตัดสินใจในการซื้อทันที ตั้งแต่ครั้งแรกที่มองเห็น เว้นเสียแต่ว่ามันโดนใจเราจริงๆ ต้องมีให้ได้ ถ้...

  • หลักการที่ถูกต้อง ย่อมนำไปสู่วิธีการที่ถูกต้อง ถ้าต้องการดื่มน้ำร้อน หลักการที่เราทราบก็คือ "การต้ม" ดังนั้นการต้มสามารถทำได้โดยใช้ เตาแก้ส เตาถ่าน ไมโครเวฟ หรือวิธีการอื่นๆ...

  • การเป็นผู้นำด้านความปลอดภัยที่ดีนั้น นอกจากการที่ต้องมีทักษะการเป็นผู้ฟังที่ดีแล้ว ยังต้องมีทักษะของการเแสดงความเห็นอกเห็นใจที่ดีด้วย โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับ ครอบครัวของพนักงาน ...

  • เป้าหมายของ BBS หรือ Behavior-Based Safety คือ"การเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง ให้เป็นพฤติกรรมความปลอดภัย" โดยอาศัยหลักการที่เรียกว่า ABC Analysis หรือ การวิเคราะห์แบบ ABC A- Activitor...

  • BBS ถือกำเนิดมาตั้งแต่ปี 1930 แต่ก็เพิ่งเริ่มมีการนำใช้จริงๆจัง เมื่อไม่กี่สิบปีที่ผ่านมานี้เอง BBS ใช้หลักการ ในการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับ พฤติกรรมเป้าหมาย หรือ พฤติกรรมเสี่ยง เ...
Visitors: 122,527