สอนก็แล้ว แต่ไม่ปฏิบัติตาม

   
   

 

เคยสงสัยมั้ยครับว่า การที่เราจะตัดสินใจซื้ออะไรสักอย่าง เรามักจะไม่ได้ตัดสินใจในการซื้อทันที ตั้งแต่ครั้งแรกที่มองเห็น เว้นเสียแต่ว่ามันโดนใจเราจริงๆ ต้องมีให้ได้ 

ถ้าบ้านใครติดเคเบิ้ลทีวี หรือจานดาวเทียม ทุกครั้งที่เราเปิดทีวีขึ้นมา สิ่งแรกที่เจอก็คือโฆษณาขายของเดิมๆ แต่ลีลาของพิธีการ สุดแสนจะตื่นเต้น เร้าใจ สะกดให้เราหยุดนิ่งต้องดู ทั้งๆทีเราก็เคยดูแล้วหลายครั้ง หลายรอบ แต่โฆษณานั่น มันมันส์จริงๆ

ไอ้พิธีกรคู่ มันก็อธิบายอย่างกับว่า ตัวเองเป็นเจ้าของสินค้า เป็นคนประดิษฐ์คิดค้นให้สิ่งนี้ ให้ถือกำเนิดขึ้นมาบนโลก หรือเป็นมรดกของมนุษยชาติ ทั้งๆที่มันไม่ได้เป็นไอเดียของคนในชาติเราเลย ผมเชื่อว่า "มีน้อยคนนะ ที่จะตัดสินใจซื้อ ตั้งแต่ครั้งแรกที่เห็น แต่เชื่อมั้ยครับว่า มีคนมีจำนวนมากที่ตัดสินใจซื้อ เมื่อเห็นโฆษณาหลายๆครั้ง"

 

ดังนั้นสำหรับจป. หรือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยหลายๆคน ที่มีคำถามในใจว่า อบรมก็แล้ว บอกก็แล้ว สอนก็แล้ว ทำไมพนักงานจึงไม่ยอมให้ความร่วมมือ หรือไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบความปลอดภัยในการทำงานสักที

จำที่ผมเขียนไว้ด้านบนได้มั้ยครับ ว่าคนเราจะตัดสินใจซื้อสินค้าเมื่อไร? คน จะตัดสินใจซื้อ หรือยอมรับสินค้านั้นๆก็ต่อเมื่อ มันดีจริงๆ มันแก้ปัญหาให้เขาได้ มีสิ่งเร้ามาจากคำพูด และท่าทางของพิธีกรทั้งสองคนที่ช่วยกันขายสินค้า อย่างถวายชีวิต

แล้วอย่างที่เราพูด อย่างที่เราบอก อย่างที่เราอบรม เราทำบ่อยมากน้อยแค่ไหน แล้วเราทำให้เขาเห็นประโยชน์ที่เขาจะได้รับจริงๆหรือเปล่า และที่สำคัญ เราได้ดึงอารมณ์ และจิตวิญญาณของเราออกมาหรือเปล่า เพื่อกระตุ้นให้เขาตัดสินใจเชื่อในสิ่งที่เราสื่อออกไป หรือว่า ก็แค่พูดไปเรื่อยๆ ตามสไลด์ที่มี ตามหน้าที่ที่ต้องทำ

 

ดัง นั้น การให้ความรู้ด้านความปลอดภัย การให้ความรู้ การทำให้เห็น การทำให้ได้ยินบ่อยๆ ก็จะมีส่วนสำคัญอย่างมากในการช่วยให้พนักงานตัดสินใจ ที่จะยอมรับ และปฏิบัติตาม...

ผมไม่ได้บังคับให้เชื่อ แต่ต้องลอง

อยากให้เขาสนใจเรื่องความปลอดภัย ก็ต้องขายเรื่องความปลอดภัยให้เป็นนะครับ


  • มีโอกาสได้คุยกับอาจารย์ท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน BBSอาจารย์เล่าให้ฟังว่า ในประเทศไทยของเรามีวิทยากรหลายคนที่สอน BBSแต่วิทยากรเหล่านั้น มีความคิดเห็นแตกต่างออกไปจากหลักกา...

  • ถ้าทั้งเคยบอก เคยสอน เคยสั่ง หรือ แม้กระทั่งบังคับให้ทำตามกฎความปลอดภัยก็แล้ว แต่พนักงานก็ยังฝ่าฝืนกฎความปลอดภัยในการทำงาน นั่นหมายความว่า วิธีการที่เรานำมาใช้ทั้งหมด ไม่สามารถตอบโ...

  • การประชุม คปอ.ถือว่าเป็นโอกาสดีงามที่ทุกคน จะมาร่วมกันอัพเดตความปลอดภัย รวมถึงติดตามผลงานต่างๆด้านความปลอดภัยฯ แต่เชื่อหรือไม่ว่า สิ่งที่ก่อให้เกิดความน่าเบื่อในการประชุม ก็หนีไม่พ...

  • ตามหลักการของ BBS หัวใจสำคัญ คือ "การกำจัดพฤติกรรมเสี่ยงโดยปรับเปลี่ยน ให้เป็นพฤติกรรมความปลอดภัย" ด้วยวิธีการแก้ไขเชิงบวก โดยการเข้าไปโค้ชให้ฉุกคิด เพื่อให้เขาตระหนักรู้ถึงค...

  • Behavior-based safety (BBS) หรือ การสร้างความปลอดภัยโดยใช้พฤติกรรมเป็นฐาน เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่า สามารถลดการเกิดอุบัติเหตุ และการได้รับบาดเจ็บไ...

  • สำหรับคนที่เป็น จป.วิชาชีพ ที่กำลังจะเริ่มทำเรื่อง BBS หรือ Behavior-Based Safety ผมเชื่อว่าหลายๆคนคงจะเคยพูด หรือเคยได้ยิน ประโยคนี้มาแล้วแน่ๆว่า “นายจ้างไม่ให้การสนับสนุน ไม่ส่งเ...

  • หลายคนอ่านชื่อเรื่องแล้ว อาจรู้สึกแปลกๆ เพราะปกติเวลาทำงานมันต้องใช้หัว แต่เรื่องความปลอดภัยเนี่ยทำไมจึงต้องใช้ตีน จริงๆแล้วมันไม่ใช่เรื่องแปลกหรอกครับ การใช้ตีนทำงานไ...

  • หลักการที่ถูกต้อง ย่อมนำไปสู่วิธีการที่ถูกต้อง ถ้าต้องการดื่มน้ำร้อน หลักการที่เราทราบก็คือ "การต้ม" ดังนั้นการต้มสามารถทำได้โดยใช้ เตาแก้ส เตาถ่าน ไมโครเวฟ หรือวิธีการอื่นๆ...

  • การเป็นผู้นำด้านความปลอดภัยที่ดีนั้น นอกจากการที่ต้องมีทักษะการเป็นผู้ฟังที่ดีแล้ว ยังต้องมีทักษะของการเแสดงความเห็นอกเห็นใจที่ดีด้วย โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับ ครอบครัวของพนักงาน ...

  • เป้าหมายของ BBS หรือ Behavior-Based Safety คือ"การเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง ให้เป็นพฤติกรรมความปลอดภัย" โดยอาศัยหลักการที่เรียกว่า ABC Analysis หรือ การวิเคราะห์แบบ ABC A- Activitor...

  • BBS ถือกำเนิดมาตั้งแต่ปี 1930 แต่ก็เพิ่งเริ่มมีการนำใช้จริงๆจัง เมื่อไม่กี่สิบปีที่ผ่านมานี้เอง BBS ใช้หลักการ ในการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับ พฤติกรรมเป้าหมาย หรือ พฤติกรรมเสี่ยง เ...
Visitors: 122,545