น้อยคนนัก ที่จะนำหลักการนี้มาใช้ เพื่อความปลอดภับในการทำงาน

ถ้าทั้งเคยบอก เคยสอน เคยสั่ง หรือ แม้กระทั่งบังคับให้ทำตามกฎความปลอดภัยก็แล้ว แต่พนักงานก็ยังฝ่าฝืนกฎความปลอดภัยในการทำงาน นั่นหมายความว่า วิธีการที่เรานำมาใช้ทั้งหมด ไม่สามารถตอบโจทย์ ในการสร้างจิตสำนึกที่ดีให้เขาได้ เพราะทั้งการสอน การบอก ทำให้เขาเพียงได้แค่รู้ แต่ไม่รู้สึก

 

กระบวนการในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การทำเพียงเท่านี้ย่อมไม่เพียงพอ เพราะ ต้องทำให้พนักงานได้ รู้ รู้สึก และ รู้สำนึก ซึ่งกระบวนการโค้ชสามารถช่วยได้ แต่น่าเสียดาย ที่น้อยคนนักจะเข้าใจหลักการนี้ หรือ ไม่ก็นำไปใช้อย่างไม่ถูกวิธี จนนำมาซึ่งผลกระทบที่ไม่ดีตามมาได้

 

ผมมีโอกาสไปพูดเรื่องการโค้ชเพื่อความปลอดภัย (Safety Coaching) ในงานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยภาคตะวันออก ที่จ.ระยอง ประจำปี 2562 ก็มีน้องๆหลายคน มาถามผมที่หน้างานว่า การโค้ช คือ อะไรค่ะ?

 

 

พอผมได้ยินปุ๊บก็รู้สึกจิตตกทันที เพราะกังวลว่ามีหลายคนไม่รู้จักการโค้ช แล้วช่วงบ่าย เราต้องขึ้นเวทีคุยเรื่องการโค้ชเพื่อความปลอดภัย จะมีคนเข้ามาฟังเหรอ แต่อีกใจหนึ่งก็มองในแง่ดีว่า เพราะเขาไม่รู้ เขาจึงถาม น่าจะเป็นไปได้ ที่จะมีคนเข้ามาฟังเป็นจำนวนมาก

 

ปรากฎว่าช่วงบ่าย ห้องที่ผมพูดเป็นห้องที่มีคนนั่งฟังหนาแน่นที่สุดครับ หลายคนบอกว่าเพราะ อ.ปราโมทย์ เป็นคนดัง มีผลงาน มีชื่อเสียง ออกสื่อทีวีต่างๆมากมาย และ เป็นที่รู้จัก ดังนั้น การที่คนหนาแน่นเต็มห้อง จึงเป็นเรื่องปกติ ซึ่งผมอยากจะบอกว่า พวกเรากำลังเข้าใจผิด สาเหตุหลักที่คนเต็มห้อง หนาแน่น เพราะผมเลือกห้องเล็กๆครับ

 

การโค้ช คือ การช่วยให้ผู้ที่มารับการโค้ชเกิดความตระหนักรู้ โดยใช้กระบวนการหลัก 3 อย่าง คือ ฟัง ถาม สะท้อน โดยเฉพาะคำถาม เป็นเครื่องมือที่สำคัญมาก ในการช่วยให้คนที่เราต้องการโค้ช หรือ คนที่เข้ารับการโค้ช (โค้ชชี่) เกิดความตระหนักรู้ (Awareness) เมื่อเกิดความตระหนักรู้ นั่นหมายความว่า ตอนนี้เขาไม่ใช่เพียงแค่รู้ หรือ รู้สึก แต่ว่าตอนนี้เขาได้เข้าไปถึงระดับที่เรียกว่า รู้สำนึก พร้อมที่จะลงมือทำการเปลี่ยนแปลง

 

ส่วนคำถามที่โค้ชใช้ มีหลายลักษณะไม่ว่าจะเป็น คำถามทั่วไปๆ ซึ่งนำไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ รวมไปถึงคำถามทรงพลัง (Powerful Questions) ที่ทำให้ผู้มารับการโค้ช ได้รับการสะท้อนมองเห็นตัวตนของตนเอง และ พร้อมที่จะลงมือทำ ลงมือแก้ปัญหาด้วยตนเอง จนบรรลุเป้าหมาย และ มีชีวิตที่ดีขึ้น ปลอดภัยมากกว่าเดิม

 

อย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญมากๆของการโค้ชก็คือ การฟัง

 

การฟังเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับการโค้ช การฟังในที่นี้ไม่ใช่เพียงแค่ฟัง เหมือนที่เราสื่อสารตามปกติ แต่การฟังในที่นี้ ต้องฟังแบบ เข้าอก เข้าใจ และ ที่สำคัญต้องฟังความรู้สึกของโค้ชชี่ด้วยว่า เขารู้สึกกอย่างไร?

 

ข้อดีของการฟังมีประโยชน์มากมาย นอกจากทำให้เราเข้าใจโค้ชชี่มากขึ้นแล้ว ยังทำให้โค้ชชี่รู้สึกไว้วางใจในตัวโค้ช ซึ่งนำไปสู่การเป็นกัลยาณมิตรที่ดีอีกด้วย

 

ผม และ โค้ชออนซ์ ได้มีการสาธิตการโค้ชให้ดูบนเวที โดยอ้างอิงตาหลักการของสหพันธ์การโค้ชนานาชาติหรือ  ICF บนเวทีให้ผู้เข้าสัมมนาได้ศึกษาว่าทำอย่างไร

ภายหลังการโค้ช น้องที่ได้รับการโค้ชบอกว่า รู้สึกว่าเริ่มเห็นตัวเองชัดเจนขึ้น รู้สึกดีขึ้นที่ได้พูดความรู้สึกที่อึดอัด และเป็นกังวล ออกมา และเริ่มมองเห็นทางเลือกใหม่ในการแก้ปัญหา ซึ่งจะทำให้การทำงานด้านความปลอดภัยในการทำงานดีขึ้น มีความสุขมากขึ้น

 

ผมยอมรับว่าผมสอนมาหลายหลักสูตร ไม่ว่าจะเป็นการสร้างพฤติกรรมความปลอดภัย BBS , ผู้นำด้านความปลอดภัย, โครงการอนุรักษ์การได้ยิน, PPE, JSA, KYT แต่หลักสูตรการโค้ชเพื่อความปลอดภัย เป็นหลักสูตรที่ผมสอนแล้วผมมีความสุขมากที่สุด เพราะ มันช่วยเปลี่ยนชีวิต ช่วยเปลี่ยนวิธีคิดของหลายคนได้

 

หลายคนเดินมาสารภาพกับผมหลังเวทีว่า ตนเองคิดผิดมาทั้งชีวิต ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการสั่ง การใช้อำนาจ การบังคับ การขู่ หรือ ลงโทษ ให้พนักงานให้ทำงานด้วยความปลอดภัย และ รับปากว่าจะนำการโค้ชไปใช้ในที่ทำงาน รวมถึงจะนำหลักการโค้ชไปใช้ในชีวิตคู่ด้วย โดยเฉพาะการฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ ที่ได้เรียนกันไปในวันนี้

ลองนำหลักการโค้ชไปใช้กันดูนะครับ เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน และ ชีวิตที่ดีขึ้นครับ

 

แจกฟรีอีบุ๊ก ต่างที่คิด ชีวิตจึงปลอดภัย

คลิก www.pramoteo.com


ชื่อผู้ตอบ:


  • มีโอกาสได้คุยกับอาจารย์ท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน BBSอาจารย์เล่าให้ฟังว่า ในประเทศไทยของเรามีวิทยากรหลายคนที่สอน BBSแต่วิทยากรเหล่านั้น มีความคิดเห็นแตกต่างออกไปจากหลักกา...

  • การประชุม คปอ.ถือว่าเป็นโอกาสดีงามที่ทุกคน จะมาร่วมกันอัพเดตความปลอดภัย รวมถึงติดตามผลงานต่างๆด้านความปลอดภัยฯ แต่เชื่อหรือไม่ว่า สิ่งที่ก่อให้เกิดความน่าเบื่อในการประชุม ก็หนีไม่พ...

  • ตามหลักการของ BBS หัวใจสำคัญ คือ "การกำจัดพฤติกรรมเสี่ยงโดยปรับเปลี่ยน ให้เป็นพฤติกรรมความปลอดภัย" ด้วยวิธีการแก้ไขเชิงบวก โดยการเข้าไปโค้ชให้ฉุกคิด เพื่อให้เขาตระหนักรู้ถึงค...

  • Behavior-based safety (BBS) หรือ การสร้างความปลอดภัยโดยใช้พฤติกรรมเป็นฐาน เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่า สามารถลดการเกิดอุบัติเหตุ และการได้รับบาดเจ็บไ...

  • สำหรับคนที่เป็น จป.วิชาชีพ ที่กำลังจะเริ่มทำเรื่อง BBS หรือ Behavior-Based Safety ผมเชื่อว่าหลายๆคนคงจะเคยพูด หรือเคยได้ยิน ประโยคนี้มาแล้วแน่ๆว่า “นายจ้างไม่ให้การสนับสนุน ไม่ส่งเ...

  • หลายคนอ่านชื่อเรื่องแล้ว อาจรู้สึกแปลกๆ เพราะปกติเวลาทำงานมันต้องใช้หัว แต่เรื่องความปลอดภัยเนี่ยทำไมจึงต้องใช้ตีน จริงๆแล้วมันไม่ใช่เรื่องแปลกหรอกครับ การใช้ตีนทำงานไ...

  • เคยสงสัยมั้ยครับว่า การที่เราจะตัดสินใจซื้ออะไรสักอย่าง เรามักจะไม่ได้ตัดสินใจในการซื้อทันที ตั้งแต่ครั้งแรกที่มองเห็น เว้นเสียแต่ว่ามันโดนใจเราจริงๆ ต้องมีให้ได้ ถ้...

  • หลักการที่ถูกต้อง ย่อมนำไปสู่วิธีการที่ถูกต้อง ถ้าต้องการดื่มน้ำร้อน หลักการที่เราทราบก็คือ "การต้ม" ดังนั้นการต้มสามารถทำได้โดยใช้ เตาแก้ส เตาถ่าน ไมโครเวฟ หรือวิธีการอื่นๆ...

  • การเป็นผู้นำด้านความปลอดภัยที่ดีนั้น นอกจากการที่ต้องมีทักษะการเป็นผู้ฟังที่ดีแล้ว ยังต้องมีทักษะของการเแสดงความเห็นอกเห็นใจที่ดีด้วย โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับ ครอบครัวของพนักงาน ...

  • เป้าหมายของ BBS หรือ Behavior-Based Safety คือ"การเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง ให้เป็นพฤติกรรมความปลอดภัย" โดยอาศัยหลักการที่เรียกว่า ABC Analysis หรือ การวิเคราะห์แบบ ABC A- Activitor...

  • BBS ถือกำเนิดมาตั้งแต่ปี 1930 แต่ก็เพิ่งเริ่มมีการนำใช้จริงๆจัง เมื่อไม่กี่สิบปีที่ผ่านมานี้เอง BBS ใช้หลักการ ในการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับ พฤติกรรมเป้าหมาย หรือ พฤติกรรมเสี่ยง เ...
Visitors: 122,548