จิตสำนึกความปลอดภัย

 

เรื่องของเรื่องมันเป็นแบบนี้… ผู้ปฏิบัติงาน “อุบัติเหตุมันไม่เกิดขึ้นกับฉันตอนนี้หรอก, ฉันก็ทำแบบนี้มาตั้งนานแล้ว ก็ไม่เห็นจะเคยได้รับบาดเจ็บอะไรเลย, คุณรู้มั้ยว่าที่คุณสั่งให้ผมทำโน้น ทำนี่ เกี่ยวกับความปลอดภัยมันทำให้ผลผลิตของผมล่าช้า, ทำไมไม่เห็นมีใครบอกผมเลย, คุณไม่ได้ทำงานเหมือนผมคุณจะไปรู้อะไร” หัวหน้างาน “นี่คุณจะต้องให้ผมบอกตั้งกี่ครั้งถึงจะยอมสวมใส่หน้ากากซะที, อย่าให้ผมเห็นคุณทำแบบนี้อีกทีนะ, อ่านหนังสือไม่ออกหรือไง ว่าต้องสวมหมวกนิรภัยในที่นี้, ไปเอาคู่มือความปลอดภัยมาต้มกินซะจะได้ไม่ต้องให้ผมคอยมาบอก, คุณเป็นอะไรมันก็ไม่เกี่ยวกับผม อย่างมากผมก็ช่วยงานให้คุณแค่ 500 บาท, คุณต้องทำตามแบบนี้นะอย่าให้ผมต้องเดินมาเห็นอีกนะ,คุณอยากทำอะไรก็เรื่อง ของคุณแต่อย่าให้เรื่องเดือดร้อนถึงผมก็แล้วกัน”

 

คำพุดเหล่า นี้ผมเชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยิน หรือเคยใช้บ้างในที่ทำงาน พวกเราคิดว่าคำพูดอย่างนี้กำลังบอกอะไรเราเกี่ยวกับการบริหารความปลอดภัยใน องค์กรของเรา… แน่นอนครับ คำพูดเหล่านี้มันมีความหมายไปทางด้านลบ (Negative responses) และ บ่งบอกได้ถึงทัศนคติ และจิตสำนึกด้านความปลอดภัยของคนในองค์กรว่า โดยมีการแสดงผลออกมาทางพฤติกรรมความปลอดภัย

 

ทำให้ผมนึกถึงคำ สอนของ อ.วรภัทร์ ภู่เจริญ เคยบอกว่า “ต้องให้ความรัก ก่อนให้ความรู้” ผมก็เลยเอามาเปรียบเทียบจากประสบการณ์ในการทำงานจริง คำตอบก็เป็นอย่างที่อาจารย์บอก “องค์กร ใดก็ตามถ้าผู้บริหารได้แสดงความห่วงใย ใส่ใจ ความปลอดภัย ออกมจากใจจริง พนักงานจะสามารถสัมผัสได้ และจะร่วมแรงร่วมใจกันทำพฤติกรรมด้านความปลอดภัย ด้วยจิตสำนึกที่ดี”

การสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยนั้นในหลายๆ องค์กร ก็มีความพยายามหาวิธีการต่างๆนำมาใช้ เช่น การสร้างมาตรฐานต่างๆ, อบรมความปลอดภัย, ตรวจสอบความปลอดภัย, สนทนาความปลอดภัย (safety talk), จัดบอร์ด, การสังเกตพฤติกรรมความปลอดภัย และอื่นๆ ก็เป็นเรื่องที่ดี แต่ หลายครั้งที่เราลืมนึกไปว่า เราออกคำสั่งมากไปหรือเปล่า, พนักงานเบื่อหรือไม่ที่ต้องปฏิบัติตาม, เราจัดหนักไปหรือเปล่า, พนักงานทราบหรือไม่ว่าทำไมเขาต้องปฏิบัติ, พนักงานอยากที่จะเสนอแนะอะไรบ้างหรือไม่, อะไรเป็นสาเหตุพื้นฐานของพฤติกรรมเสี่ยง และในตอนเราไม่ได้ตรวจสอบพนักงานยังคงมีพฤติกรรมปลอดภัยเหมือนที่เราเห็น หรือไม่

 

“การสร้างจิตสำนึกความปลอดภัย” จากวิธีดังกล่าวเป็นเรื่องที่ดี แต่ยังไม่เพียงพอ โดยเฉพาะผู้บริหาร และหัวหน้างาน ควรที่จะเพิ่มเติมโดยการ “แสดงความรัก ความห่วงใย เข้าใจ ออกมาจากใจด้วยการกระทำที่ชัดเจน, ฟังให้มาก, พูดให้เขาคิดแต่ไม่สั่งให้เขาทำ, เสนอแนะให้เขายอมรับ และรับฟังที่เขาเสนอ, ชมเชยเมื่อมีโอกาส ไม่ต่อว่าถ้าต่อหน้าคนอื่น, เครียดไปไม่บรรเจิด สนุกเถิดจะเกิดผล” การ สร้างจิดสำนึกด้านความปลอดภัยต้องใช้เวลา การทำอย่างสม่ำเสมอ ถูกต้อง และได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายบริหาร จะช่วยให้งานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยประสบความสำเร็จได้ อย่ารีบร้อน หรือผลักดันมากเกินไป พนักงานจำเป็นต้องใช้เวลาการปรับเปลี่ยน และซึมซับการสร้างจิตสำนึกความปลอดภัย เพื่อให้กลายเป็นนิสัย และพฤติกรรมความปลอดภัยติดตัวตลอดไป

 

 


ชื่อผู้ตอบ:


  • ผมมีโอกาสไปพูดเรื่อง ผู้นำด้านความปลอดภัย หรือ Safety Leadership ที่ บริษัท ปตท. สำรวจ และ ผลิต จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP ซึ่งเป็นหลักการที่ ผู้นำด้านความปลอดภัยทุกคนต้องทราบ และ นำ...

  • ตามหลักการของการสร้างพฤติกรรมความปลอดภัย BBS ที่นำไปสู่วัฒนธรรมความปลอดภัยที่ดี Safety Culture สิ่งที่ขาดเสียไม่ได้เลย คือ"การแก้ไขเชิงบวกให้ถูกต้องทันที"เมื่อเจอการกระทำที่ไม่ปลอ...

  • หน้ากากจากญี่ปุ่น... ใช้ป้องกัน PM2.5 ได้ 99% จริงเหรอ? หน้ากากเหล่านี้ ผ่านการทดสอบตามมาตรฐาน PFE โดยใช้อนุภาคขนาด 0.1-1 ไมครอน เป็นตัวทดสอบประสิทธิภาพในการกรอง PFE , BFE, VFE ...

  • วิธีการใช้หน้ากาก N95 ป้องกันฝุ่น PM2.5 อันเนื่องมาจากสภาพอากาศในกทม.ตอนนี้ มีปริมาณความเข้มข้นของฝุ่น PM2.5 สูงเกินกว่าค่ามาตรฐานของความปลอดภัยต่อสุขภาพที่กำหนดไว้ หลายคนกำ...

  • หลายคน เลือกเรียนอาชีวอนามัยฯ เพราะเชื่อว่าเงินดี และไม่ตกงาน ข่าวร้าย คือ ยังมีอีกหลายอย่างที่เรายังไม่รู้ 1. จป.เป็นอาชีพที่น่ารังเกียจมาก เพราะทำให้ผลผลิตของนายจ้างลดลง เพิ...

  • การโค้ช เป็นกระบวนการหนึ่ง ที่หลายองค์กรได้นำมาใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้กับพนักงาน โดยเฉพาะการโค้ชผู้บริหาร และ ระดับหัวหน้า ในเรื่องของความปลอดภัยในการทำงาน ก็...

  • เมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2561 ผมได้รับเชิญไปพูดเกี่ยวกับ BBS การสร้างพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน ให้กับคณาจารย์ นิสิต ป.ตรี ป.โท ป.เอก และ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ณ ภาควิชาเคมีเท...

  • นับย้อนไป 12 ปี เมื่อเข้าสู่การเป็น "จป.วิชาชีพ" แบบเต็มตัวครั้งแรก...ผมไม่คิดว่าคนโง่ๆอย่างผม...จะได้งานรวดเร็วขนาดนี้... ผมได้งานเป็นคนแรกๆของรุ่น ผมได้งานใน บ.อินเดีย ปัญหาเรื่...

  • ทุกวันนี้ มีหลายคนแชทเข้ามาถาม ไลน์มาคุย โทรมาปรึกษา และถามผมว่า... ถ้าอยากเป็นจป.มืออาชีพ ต้องทำอย่างไร...? ผมมักจะถามกลับ ไปว่า เป้าหมายชีวิตของคุณ คือ อะไร ? คุณเห็นภาพของคุณใน...

  • จป. จบใหม่ จบตรงหลายคน อาจจะรู้สึกจี้ดบ้าง เมื่อถูก จป.ที่มีประสบการณ์มากกว่า หรือคนที่เคยทำงานมาก่อนพูดแบบนี้ ไม่มีใครหรอกครับ ที่มีประสบการณ์ตั้งแต่เรียนจบ อย่างมากก็แค่เคยฝึกงาน...

  • การป้องกันเสียงดัง ให้มีประสิทธิภาพนั้น ขึ้นอยู่กับว่านายจ้างให้ความสำคัญเกี่ยวกับสุขภาพหู และการได้ยินของลูกจ้างมากน้อยแค่ไหน การสัมผัสเสียงดังเกินมาตรฐานเป็นระยะเวลานานๆ ย่อมส่งผ...

  • ผมได้เดินทางไปให้คำปรึกษา และสำรวจเกี่ยวกับการปกป้องระบบทางเดินหายใจในโรงพยาบาลต่างจังหวัดแห่งหนึ่ง และได้คุยกับ คุณลุงใจดีคนหนึ่งในห้องตัดเฝือก จึงได้ทักทายกัน ปราโมทย์ : สวัสดีคร...

  • "พนักงานผสมสารเคมี ใส่ผ้าปิดจมูก และปฏิเสธที่จะสวมหน้ากากที่มีมาตรฐาน แต่อุปกรณ์อื่นๆใส่ครบหมด อย่างถูกต้องเราจะทำอย่างไร?" ตัวอย่างที่ 1 หัวหน้างาน : ใส่หน้ากากเดี่ยวนี้ เดี๋ย...

  • สาเหตุแอบแฝง(underlying causes) ขาดความรู้ หรือไม่ได้รับการอบรม คิดว่ามันไม่เกิดขึ้นตอนนี้หรอก ทัศนคติไม่ดีต่อความปลอดภัย ไม่เข้าใจการใช้งานอุปกรณ์ความปลอดภัย ทำแบบนี้มานานแล้วก็ไ...

  • วันนี้ได้มีโอกาสไปพูด "ปลุกจิตสำนึกการสวมใส่ PPE" สั้นๆ 1 ชม. ให้กับกลุ่มบริษัท Oil and Gas แห่งหนึ่ง เวลาค่อนข้างจำกัด ดังนั้นทุกนาทีต้องเป็นเรื่องที่ "คนฟังชอบ...ได้ประโยชน์... แ...

  • คนงานหลายคนในโรงหลอมสัมผัสมลภาวะทาง อากาศในการทำงาน เช่น. ควัน, ฝุ่น, SPM, RSPM, ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์, ซัลเฟอร์ไดออกไซด์, ออกไซด์ของไนโตรเจน, ไฮโดรคาร์บอน และ โลหะหนัก เช่น ตะกั่ว,...

  • เสียงดังที่เรารู้จักกันโดยหลักๆมี 2 ประเภท คือ "เสียงดังชนิดแบบต่อเนื่อง" และ "ไม่ต่อเนื่อง" เสียงที่ดังอย่างต่อเนื่องสามารถแบ่งออกได้โดยพิจารณาความแตกต่างของระดับความดัง (Decibel)...

  • อันตรายจากงานพ่นสี (Spray painting)งานพ่นสีจัดเป็นงานที่มีความอันตรายมากงานหนึ่ง เนื่องจากสารปนเปื้อนที่เกิดขึ้นจากการพ่นสีประกอบไปด้วยสองตัวหลักคือ ละออง(Mist) และไอระเหย(Vapor)1 ...

  • ปัญหา โลกแตกที่นายจ้างและลูกจ้างเถียงกันก็คือว่า "เมื่อใดต้องใส่หน้ากาก?" นายจ้าง หรือหัวหน้างาน หรือ จป.บางคนบอกว่าสารเคมีมันเข้มข้นไม่เกินมาตรฐานไม่ต้องใส่ แต่พอนายจ้างหรือแขกมาเ...

  • สรุปสิ่งที่ได้รับตามความเข้าใจ และเทคนิคที่เรียนรู้มานะครับ OHSAS 18001 คือ ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และถ้าต้องการข้อมูลเพิ่มเติมต้องไปอ่านเพิ่มใน Guideline 18002 ช...

  • เมื่อวันที่ 19 มี.ค. 57 ผมเดินทางไปบรรยายเรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมีอันตราย และอุปกรณ์ป้องกัน ให้กับบริษัทแห่งหนึ่งในนิคมอัญธานี เขตประเวศ กทม. พอเปิดประตูรถลงมา ตกใจมาก...

  • ยาเสพติดชนิดใหม่ได้ระบาดไปแล้ว ทั่วโลก…! การออกฤทธิ์อย่างเฉียบพลันของมัน ทำให้เรามีอาการหงุดหงิด อารมณ์เสีย กระวนกระวาย ทุรนทุราย และตอนนี้มันหาซื้อได้ง่ายมาก มันกำลังอยู่ใน...

  • วันนี้ นั่งดูรายการคิดเปลี่ยนโลกทางช่อง 5 ผมว่ามีประโยชน์มากแม้จะเป็นเวลาสั้นๆ แต่อาจทำให้ชีวิตเราและผู้อื่นยาวนานมากขึ้น วันนี้รายการได้เชิญคุณเก๋ ชลลดา เมฆราตรีดารา ภาพยนต์ และพิ...

  • ช่วง นี้ค่อนข้างวุ่นๆเลยไม่มีเวลาเขียนบทความเท่าไร เผอิญไปเจอข้อมูลเก่าสมัยที่เป็นจป.วิชาชีพ อ่านแล้วเป็นประโยชน์ดีครับ ซึ่ง Near miss เป็นอะไรที่ช่วยให้เราประเมินได้ว่ามาตรการความ...

  • เบื่อมั้ย ที่ทุกๆปีจะต้องมาฟังประกาศ 7 วันอันตราย ชีวิตเราเอง แต่กลับต้องมาให้คนอื่นมาห่วงมาเตือน เราบกพร่องขนาดนั้นเชียวหรือ ประเทศไทย มีจำนวนประชากรพอๆกับสหราชอาณาจักร แต่แค...

  • หลายคนไม่ทราบว่าการรับรู้การได้ยิน ของเด็กนั้นไวมาก เราสามารถสังเกตได้จาก การที่เขาสะดุ้ง หรือตื่นขึ้นมา หันควับไปทางใดทางหนึ่ง อันนี้เกี่ยวกับแม่ซื้อหรือเปล่า ผมไม่มั่นใจนัก เรื่อ...

  • วันก่อนผมดูทีวีรายการ "รู้ทันประเทศไทย" โดยดร.เจิมศักดิ์ปิ่นทอง โดยมีแขกรับเชิญคือ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกริก และอีกท่านหนึ่งต้องขออภัยผมจำชื่อไม่ได้ ในรายการได้พูดถึงปัญหาโลกร้อนแล...

  • เมื่อวานนี้ ผมมีโอกาสไปพูด เรื่องการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย ให้กับชมรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้กับผู้เข้าสัมมนาจำนวน 110 คน และคิดว่าเนื้อหาน่าจะเป็นประโ...

  • อยากเป็นผู้จัดการฝ่ายความปลอดภัยจริงๆหรือ? บนวิถีชีวิตของ จป. วิชาชีพ ความก้าวหน้าสูงสุดในหน้าที่การงาน ก็คือการได้เป็น ผจก.ความปลอดภัยฯ หรือ ไม่ก็ผจก.ความปลอดภัยฯส่วนภูมิภาคใด ...

  • 1. นายจ้างไม่ให้การสนับสนุน ขออะไรไปก็ไม่ให้ความร่วมมือ ดังนั้นไปหานายจ้างคนใหม่ดีกว่า 2. ถูกลดคุณค่า มอง จป.เป็นไม้กันหมา คิดแค่ว่า จ้างเราไว้ให้มีตามกฎหมายก็เพียงพอแล้ว ...

  • ภาพ: กรุงเทพธุรกิจ กรณีศึกษา Deepwater Horizon แท่นขุดเจาะน้ำมัน BP ระเบิดครั้งใหญ่ที่สุดในโลก เมื่อ 20 เม.ย. 2010 มีผู้เสียชีวิต 11 ราย มีน้ำมันรั่วไหลสู่ทะเลทั้งหมด 4.9 ล้านบา...
Visitors: 122,338