กฎหมายบังคับมั้ย? ผมไม่อยากได้ยินคำนี้

 

เวลาที่เรานำเสนอนายจ้าง ให้มีการอบรม หรือ ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานต่างๆ ด้านความปลอดภัย ทันทีที่เราพูดจบ หรือในขณะที่ปากของเรา ยังปิดไม่สนิท ก็จะมีสิ่งที่มองไม่เห็นแทรกเข้ามาในรูหู  ทำให้ฮอร์โมนคลอติซอลหลั่ง ส่งผลให้เรารู้สึกเครียด และ หงุดหงิด เพราะคำว่า "กฎหมายบังคับมั้ย ?"

 
สาเหตุที่ จป. รู้สึกเครียด และ หงุดหงิด  ก็เพราะ เรารู้สึกว่า "เราถูกลดคุณค่า" เราถูกลงมติไม่ไว้วางใจ และ ที่เจ็บปวดมากสุดก็คือ เรารู้สึกว่านายจ้างไม่สนใจเรื่องความปลอดภัยเลย จะทำก็ต่อเมื่อ จนท.แรงงานมายืนอยู่ที่หน้าประตูโรงงาน
 
แต่ถ้ามองอีกมุมหนึ่งก็ต้องเข้าใจว่า เขาตั้งบริษัท หรือ สร้างโรงงานขึ้นมา ก็เพื่อธุรกิจ และ สิ่งที่ธุรกิจต้องการมากที่สุดก็ คือ "ผลกำไร"
 
ดังนั้น ในกรอบความคิด (Mindset) ของนายจ้างส่วนใหญ่ก็จะมองว่า "ความปลอดภัย คือ ค่าใช้จ่าย"  และ น้อยคนนัก ที่จะรู้ว่า ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากความไม่ปลอดภัยนั้นแพงกว่ามาก
 
 
ส่วนตัว ผมเองก็เคยถูกถามคำถามแบบนี้ โดยเฉพาะเวลาที่ขอส่งพนักงานไปอบรม ก็จะถูกถามเสมอว่า กฎหมายบังคับมั้ย?
 
อาการที่เกิดขึ้น ก็ปี๊ดสิครับ ขี้เกียจไปหาหลักฐานมาอ้างอิง ในใจก็นอยๆว่า ทีอบรม การขาย TPM ISO ไม่เห็นจะถามเลยว่า กม.บังคับหรือเปล่า? แล้วเรื่องของความปลอดภัยมันไม่มีค่าเลยใช่มั้ย? เราจะทำงานกับนายจ้างแบบนี้ไปเพื่อ...
 
จนวันหนึ่ง เมื่ออายุมากขึ้น จึงเข้าใจว่า เขาไม่ได้เรียนมาเหมือนเรา เขาจึงไม่ได้มีความเข้าใจเหมือนเรา
 
ดังนั้น ถ้าอยากให้เขามีกรอบความคิดที่เหมือนเรา "เราก็ต้องให้เขาได้เรียน ได้มีประสบการณ์เช่นเดียวกับที่เราเรียนมา" การไปอบรม จป.บริหาร ก็พอช่วยได้ แต่การพัฒนากรอบความคิดของผู้บริหาร หรือ ผู้นำด้านความปลอดภัย ไม่ได้มีแค่หลักสูตร จป.บริหารเท่านั้น
 
หลายองค์กร โดยเฉพาะบริษัทชั้นนำ ก็เริ่มที่จะให้ความสำคัญเกี่ยวกับ ทักษะของการเป็นผู้นำด้านความปลอดภัย หรือ Safety Leadership มากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มบริษัท SCG, PTT และ CP เพราะ เขาเชื่อว่า ความปลอดภัยในการทำงานเป็นสิ่งสำคัญ หากผู้บริหารไม่สนับสนุน ทุกอย่างก็จบ ไปต่อไม่ได้
 
 
 
ตามหลักการของ BBS ที่บอกไว้ว่า "ผู้บริหารต้องให้การสนับสนุน" และ "ทัศนคติที่ดีด้านความปลอดภัย เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด"
 
หากขาด 2 ข้อนี้ ก็อย่างหวังเลยว่า จะเกิดความปลอดภัยในการทำงาน และ ธุรกิจจะอยู่รอดได้
 
ดังนั้นก็อย่าได้แปลกใจว่า ทำไมองค์กรเหล่านี้จึงยังอยู่รอดได้ แม้ว่าจะเจอวิกฤตเศรษฐกิจใดๆก็ตาม
 
เพราะ เขาเข้าใจแล้วว่า ทำความปลอดภัยได้อะไรเยอะ ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ที่ดีในองค์กร อันเนื่องมาจากการดูแลความปลอดภัยซึ่งกันและกัน รวมถึงวัฒนธรรมในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ความรับผิดชอบ และ ความมีระเบียบวินัย รวมถึงของแถมที่เพิ่มขึ้นมาก็คือ ผลผลิต คุณภาพ และ ขวัญกำลังใจ ตลอดจนค่าใช้จ่ายที่ลดลง
 
 
 
 
เปลี่ยนจากคำว่า กฏมายบังคับมั้ย ? มาถามตัวเองว่า คุ้มค่ามั้ย ? แล้วเราจะรู้เองว่า จำเป็นต้องทำ หรือไม่จำเป็นต้องทำ 
 
 
มนุษย์แตกต่างจากสัตว์เดรัจฉานตรงที่ เรามีความคิด เรามีจิตสำนึก ไม่จำเป็นที่จะต้องมาให้ใครเอาไม้มาเฆี่ยน มาตี เหมือนสัตว์เดรัจฉานเหล่านั้น
 
การมีจิตสำนึกที่ดี จะทำให้เรารู้ว่า ความปลอดภัย เป็นสิ่งที่ควรทำ หรือ ไม่จำเป็นต้องทำ เมื่อเราเริ่มที่จะคิด
 

แจกฟรีอีบุ๊ก ต่างที่คิด ชีวิตจึงปลอดภัย

คลิก www.pramoteo.com

 
#1 โดย: จรงค์ คงสุขโขจ [IP: 182.232.31.xxx]
เมื่อ: 2019-06-08 12:45:45
ดีมากครับ เปลี่ยนวิธีคิด ทำให้ทุกชีวิตเดินด้วยคุณภาพ ปลอดภัย เป้าหมาย สำเร็จร่วมกัน
#2 โดย: ปราโมทย์ [IP: 182.232.23.xxx]
เมื่อ: 2019-06-08 13:01:25
ขอบคุณครับคุณจรงค์

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 122,548