4 ขั้นตอน การป้องกันอันตรายจากเสียงดัง

หลักการ

ในสถานประกอบกิจการในกรณีที่มีสภาวะการทำงานที่มีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับ เฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานแปดชั่วโมงตั้งแต่แปดสิบห้าเดซิเบลเอขึ้นไปนั้น 

กฎกระทรวงได้กำหนดมาตรฐานในการบริหารและจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2549

โดยกำหนดให้นายจ้างจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยิน ทั้งนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องในการป้องกันอันตรายของเสียงดังต่อสุขภาพของตนเอง และผู้อื่นจำเป็นต้องทราบวิธีการป้องกัน และปฏิบัติให้สอดคล้องกับนโยบายของโครงการอนุรักษ์การได้ยินของบริษัท และข้อกำหนดต่างๆที่กฎหมายได้กำหนดไว้

ดังนั้นในหลักสูตรนี้ จึงเน้นสร้างความเข้าใจในการ ชี้บ่งแหล่งที่เป็นอันตรายของเสียงดัง อันตรายของเสียงดังที่มีผลต่อสุขภาพ การเลือกใช้อุปกรณ์ลดเสียงอย่างถูกวิธี และ การใช้งานและดูแลรักษาอุปกรณ์ลดเสียง ตลอดจนเกิดความตระหนักในการป้องกันอันตราย

 

วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้ผู้ฝึกอบรมสามารถชี้บ่งอันตรายของเสียงดังได้
  • เพื่อให้ผู้อบรมได้ทราบถึงอันตรายของเสียงดังต่อสุขภาพ
  • เพื่อให้ผู้ฝึกอบรมสามารถเลือกอุปกรณ์ลดเสียงที่เหมาะสมได้ถูกต้อง
  • เพื่อให้ผู้ฝึกอบรมสามารถใช้งานและดูแลอุปกรณ์ลดเสียงได้อย่างถูกต้อง  

 

เนื้อหา

  • การชี้บ่งอันตรายของเสียงดัง
  • อันตรายของเสียงดังต่อสุขภาพ
  • การเลือกอุปกรณ์ลดเสียง
  • ใช้งานและดูแลอุปกรณ์ลดเสียงได้อย่างถูกต้อง
  • สรุปเนื้อหา และ ถาม-ตอบ

 

ระยะเวลา                            6 ชั่วโมง 

 

จำนวนผู้ฝึกอบรม      ไม่เกิน 30 ท่าน

 

วิธีการสอน 

 

หลักสูตรนี้ออกแบบเป็นพิเศษโดยเน้นที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีการปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน บทบาทสมมติ วีดีโอ และการบรรยายประกอบกับกิจกรรมกลุ่ม

 

 หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ

 

นักอาชีวอนามัย เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานทุกระดับ และผู้เกี่ยวข้องในโครงการอนุรักษ์การได้ยิน โดย เฉพาะพนักงานปฏิบัติงานกลุ่มเสี่ยง หรือสูญเสียการได้ยินไปแล้ว ที่เข้าสู่ขั้นตอนของการป้องกันอันตรายให้กับตัวเองของโครงการอนุรักษ์การได้ยิน

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

Visitors: 122,621