โครงการอนุรักษ์การได้ยิน 2561

หลักการ

อันตราย จากเสียงดังก็เป็นอีกหนึ่งอันตรายที่จำเป็นต้องให้ความ สำคัญเป็นพิเศษ เพื่อปกป้องการเสื่อมสมรรถภาพในการได้ยินของผู้ปฏิบัติงาน ตามที่ กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร และจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2549

กำหนด ให้นายจ้างจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการในกรณีที่ สภาวะการทำงานในสถานประกอบกิจการมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอด ระยะเวลาการทำงานแปดชั่วโมงตั้งแต่แปดสิบห้าเดซิเบลเอขึ้นไป

 

ดังนั้นในหลักสูตรนี้ จึงเน้นสร้างความเข้าใจ โครงการอนุรักษ์การได้ยิน (Hearing Conservation Program) ให้สอดคล้อง และครอบคลุมตามแนวทาง และข้อกำหนดของ ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2561และ สามารถใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานจริงได้

 

วัตถุประสงค์

 

  •  เพื่อให้ผู้ฝึกอบรมจะได้รับทราบถึงความหมาย และข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  •  เพื่อให้ผู้อบรมได้ทราบถึงการทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภา
  •  เพื่อให้ผู้ฝึกอบรมจะทราบถึงชนิดของ PPE ชนิดต่าง
  •  เพื่อให้ผู้ฝึกอบรมสามารถเลือกใช้อุปกรณ์ PPE ได้อย่างถูกต้องและสวมใส่ได้เหมาะสมกับงาน

 

เนื้อหา

  • ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำโครงการอนุรักษ์การได้ยิน
  • นโยบายการอนุรักษ์การได้ยิน
  • การเฝ้าระวังเสียงดัง
  • การเฝ้าระวังการได้ยิน
  • หน้าที่รับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • ความสำคัญของการทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน
  • อันตรายของเสียงดัง การควบคุมป้องกัน
  • การใช้งานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลในการป้องกัน

 

ระยะเวลา                                              6           ชั่วโมง

จำนวนผู้ฝึกอบรมไม่เกิน                  30           ท่าน

 

วิธีการสอน

 

หลักสูตรนี้ออกแบบเป็นพิเศษโดยเน้นที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีการปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน บทบาทสมมติ  วีดีโอ  และการบรรยายประกอบกับกิจกรรมกลุ่ม

 

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ 

 

นักอาชีวอนามัย เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานทุกระดับ และผู้เกี่ยวข้องในการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยิน

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

Visitors: 122,614